เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558
คำถามท้ายบทเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ 1.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น LAN (Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
2.ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network)เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lanและ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง WAN (Wide Area Network)เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
2.อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1. http://www.google.co.th/
2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Google พอสังเขป
ตอบ 1.เข้าไปที่www.google.co.th แล้วพิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์ ความหมายของอินเตอร์เน็ต ลงไป
2. กดปุ่ม ค้นหา แล้วหาข้อมูลที่เราต้องการเลย
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : Digital library แปล ว่าห้องสมุดดิจิทัลเป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูล อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text)ได้โดยตรง
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทการศึกษา
ตอบ http://www.rd.go.th
http://www.ect.go.th/thai/
http://www.lib.ru.ac.th/webtoday/free-ecards1.html
http://www.belovedking.com www.lib.ru.ac.th/queen72/น็ต ไปพร้อม ๆ กัน
คำถามท้ายบทเรียนที่6 อินเทอร์เน็ต
1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า International network หรือ Inter Connection network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายด้วยโปรโตคอลนี้จะ ช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ เป็นขุมคลังสำคัญอันมหิมาของสารสนเทศ
มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online/สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสาร online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศ online ที่ได้ตามที่ต้องการ
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้ให้เราค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่มีการอัพเด็ต มีความทันสมัยเราใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ในการอ่านข่าว และใช้ในการเรียนรู้ข้อมูลอื่นๆๆ ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกสามาถนำมาใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อการเรียนได้ง่ายขึ่น หรืออ่านข่าวสาร และทำธุกิจได้หลายอย่าง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เช่น การส่ง e-mail แทนการส่งจดหมาย และทำให้เรารู้อะรได้มากมายบนโลกของเรา
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ย่อมาจากคำ modulator - demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวกล้ำและแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1,200, 2,400, 9,600 และ 14,400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโชยน์อย่างไรตอบ 1. สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้ ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูล ในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
2. สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ซิปไดร์ฟ เป็นต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วม กันได้
3. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
4. การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้ เช่น อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก เช่น แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
5. การแชร์อินเทอร์เน็ต ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้ โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้นทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
6.จงยกตัวอย่างประโชยน์ของ E-mailตอบ 1. มีความสะดวกรวดเร็ว
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ไม่จำกัดระยะทาง
4. ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล
5. ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไม่ว่าจะตอนไหนก็ส่งได้ทุกเวลา
6. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างหลากหลาย
คำถามท้ายบทเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( COMPUTER NETWORK )
หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้
2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อร่วมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันมากที่สุด เช่นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ (Pinter) เครื่องกราดตรวจ(Scanner)
4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นระบบใหญ่เชื่อมต่อโยงกันทั่วโลก ตัวอย่าง ประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) การศึกษาแบบE-Learning
5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน ขณะที่มีการนำระบบนี้มาใช้ในงานวิจัย เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ และ แต่ละเครื่องจะได้รับส่วนแบบของงานคำนวณมาทำ สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย จึงยิ่งกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใดๆ ในโลกทำให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ในเพียงไม่กี่ปี แทนที่จะต้องใช้เวลานานนับสิบๆ ปี
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่ LAN (Local Area Network) เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การเชื่อมต่อในตึกเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย โดยส่วนมากจะใช้สายเคเบิล ในการติดต่อสื่อสารกัน
MAN (Metropolitan Area Network) เครือข่ายบริเวณนครหลวง เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจตั้งอยู่ ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อกัน มักจะเป็นบริษัทหรือ หน่วยงานขนาดใหญ่
WAN (Wide Area Network) เครือข่ายบริเวณกว้างเป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ในการเชื่อมการติดต่อนั้นจะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ - PAN(Personal Area Network) ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล
คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย
- CAN (Campus Area Networks) มีกฎเกณฑ์เหมือนแลนแต่มีขนาดใหญ่ หลากหลาย แคนทำให้สำนักงานของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้ เ
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
1. ซอฟต์แวร์คืออะไร และทำหน้าอย่างไร
ตอบ คือ การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
ทำหน้าที่ สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ มี 2ประเภท ได้แก่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่อง เช่น งานพิมพ์รายงานหรือข้อความ จะใช้โปรแกรมประเภทประมวลผลคำ การทำตารางบัญชี จะใช้โปรแกรมประเภทตารางทำการ งานนำเสนอ จะใช้โปรแกรมประเภทสร้างสื่อนำเสนอ
5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ คือการประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้อย่างหลากหลาย เพราะมีซอฟต์แวร์ต่างๆ ช่วยสนับสนุนการทำงานเหล่านั้น
เช่น ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วเครื่องบินใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว ธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ครูและนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดพิมพ์เอกสาร ดังนั้นซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการได้อย่างไร และก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด นั้นจึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้นส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการคือ ระบบปฏิบัติการคือกลุ่มโปรแกรมที่ได้รับการจัดระเบียบเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ และเสริมการทำงานในส่วนของฮาร์ดแวร์ โดยใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้
ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการใช้งานโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิผลที่ดี ในลักษณะ
วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียงทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันงานได้กว้างขวาง
มีประโยชน์ คือ
1.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนในช่วง พ.ศ.500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ขึ้นมาช่วยในการคิดเลขจึงถือได้ว่าเครื่องคิดเลขนี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องคิดเลขในยุคต่อมา
ปี พ.ศ.2185 แบลส์ พาสคัล นักวิทยาศาสตร์และปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาใช้งาน เครื่องมือที่เขาสร้างขึ้นใช้ในการคำนวณ สามารถใช้บวกและลบค่าตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
ปี พ.ศ. 2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก เราให้เกียรติยกย่องว่าเขาเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ.2489 คณะวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาและสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกมีชื่อเรียกว่าอินิแอ็ก [Eniac]เพื่อใช้ในการคำนวณวิถึกระสุนปืนใหญ่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ( Hardware) ซอฟต์แวร์ ( Software) ข้อมูล ( Data )
5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาท์ เป็นต้น
จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆสามารถแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1.หน่วยรับข้อมูลเข้า [Input Unit]
2.หน่วยประมวลผลกลาง [Central Process Unit : CPU ]
3.หน่วยความจำ [Memory Unit]
4.หน่วยแสดงผล [Output Unit]
5.อุปกรณ์ต่อเนื่องอื่นๆ [Peripheral Equipment]
6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลาง เป็นส่วนประกอบซึ่งทำหน้าที่หลักในการประมวลผลต่างๆ ทั้งทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operatipn)เช่น ตัวเลข บวก ลบ คูณหาร และเปรียบเที่ยบข้อมูลทางตรรกศาตร์
7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม(ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ รอม ( Rom ) Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่ไม่มาสามรถที่จะแก้ข้อมูลภายในได้ แต่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และ สามารถเก็บข้อมูลได้ ROM มีคุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
ส่วนแรม ( Ram ) Random Access Memory ถือเป็นหน่วยความจำของระบบ ( System Memory ) ซึ่งสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว โปรแกรมหรือชุดคำสั่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมันถูกโหลดลงในแรมเสียก่อน แต่เพราะว่าแรมนั้นไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้เมื่อไม่มีไฟมาเลี้ยงตัวมัน ( เมื่อเปิดเครื่องก็จะหายไป ) คุณสมบัติ Ramเก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ
8.จานบันทึกข้อมูล( Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ประกอบด้วย 1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์ จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabit)พิdเซล (Pixel) จิกะเฮิร์ซ (GHz)
ตอบ เมกะไบต์ (Megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
กิกะไบต์ (Gigabit) หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
พิกเซล (Pixel) จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จิกะเฮิร์ซ (GHz) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ มีหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ จอภาพ ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบตามที่เห็นผ่านทางข้อความและกราฟิก ส่วนของจอภาพที่แสดงผลข้อมูลเรียกว่า หน้าจอ หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนกับหน้าจอโทรทัศน์
แป้นพิมพ์ เป็นส่วนสำคัญสำหรับใช้พิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ แป้นพิมพ์ประกอบด้วยแป้นตัวอักษรและตัวเลขเหมือนกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีแป้นพิเศษเพิ่ม ได้แก่
แป้นฟังก์ชัน ที่อยู่แถวบนสุด ทำหน้าที่ต่างๆ กันขึ้นกับว่าใช้แป้นฟังก์ชันนั้นที่ไหน
แป้นพิมพ์ตัวเลข ที่อยู่ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ทั้งหมด ช่วยให้คุณใส่ตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว
แป้นนำทาง เช่นแป้นพิมพ์ลูกศรต่างๆ ช่วยคุณย้ายตำแหน่งภายในเอกสารหรือเว็บเพจ
เมาส์ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับชี้และเลือกรายการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าเมาส์ผลิตออกมาหลายรูปร่าง แต่โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับหนูที่เป็นสัตว์จริง เมาส์มีขนาดเล็ก เป็นรูปรี และเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบด้วยสายยาวซึ่งดูคล้ายกับหางหนู เมาส์ออกใหม่บางตัวเป็นแบบไร้สาย
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.คำว่า "ระบบ" และวิธิการเชิงของระบบ หมายถึงอะไร
คำตอบ คำว่า ระบบ คือ การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ และสามารถตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีระบบแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
คำตอบ 1.ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ 3.ผลลัพธ์
1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)
วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด่นปัญหา
2. กระบวนการ (Process)
วิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงานการสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัย
3. ผลลัพธ์(Output)
ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึง อะไร
คำตอบ คือการประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
คำตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ระบบความคิด หมายถึง กระบวนการและขั้นตอน ในการจัดอันดับ จำแนก แจกแจง จัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ ระบบเครื่องมือ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ สารสนเทศที่นิยมในการดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบอะไร
คำตอบ สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการดังนี้
- ข้อมูล (Data)
- สารสนเทศ(Information)
- ความรู้(Knowledge)
- ปัญญา(Wisdom)
สารสนเทศด้านขั้นตอน ประกอบด้วย องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป สารสนเทศทั่วไป
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป (Information Process Systems)
- เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)
- ข้อมูล(Data)
- สารสนเทศ(Information)
- โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)
- บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(People ware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
คำตอบ ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (Mission Analysis)
2. วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)
3. วิเคราะห์งาน (Task Analysis)
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (Method-Means Analysis)ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1. การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3. ประเมินผลประสิทธิภาพ การดำเนินงานโดยการแก้ปัญหา แล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้
ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุลคล ระดับกลุ่ม กับระบบองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล ในหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขายระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบบริการลูกค้า การประชุมผ่านเครือข่าย ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่มระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
คำตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ แสง สี เสียง รสความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล มีความสำคัญกับสารสนเทศคือสารสนเทศ (informational) ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองโดยการจำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ การคำนวณและประมวลผลแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ มีวิธีการจัดการดังนี้
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล (Data processing steps) มีการประมวลผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล (Data collection) หมายถึงการเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิด (capturing) มาทำการเข้ารหัส (Coding) ในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และการบันทึก (recording) ในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ
2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล (Data Maintenance Processing) เป็นกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา (updating) ทำการแยกประเภท (classifying) จัดเรียงข้อมูล (sorting) และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว (calculating) เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
3. การจัดการข้อมูล (Data Management) คือการสร้างระบบจัดการข้อมูลจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4. การควบคุมข้อมูล (Data Control) เป็นการป้องกันรักษาข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วให้ปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลที่มีค่าถูกขโมยไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง
5. การสร้างสารสนเทศ (Information Generation) เป็นการตีความหมายของข้อมูลที่ได้มาแล้ว ค้นหาความหมายหรือความสำคัญที่มีคุณค่าของข้อมูลที่ได้โดยการนำไปประมวลผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น การคำนวณ การเรียงข้อมูล (sorting) การค้นหา (searching)
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
ตำตอบ เครือข่ายสื่อสารข้อมูล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้
1. แลน (LAN = Local Area Network) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรื
2. แวน (WAN = Wide Area Network) คือเครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือเครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
3. อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลกอมหาวิทยาลัย
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.คำว่า "ระบบ" และวิธิการเชิงของระบบ หมายถึงอะไร
คำตอบ คำว่า ระบบ คือ การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ และสามารถตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีระบบแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
คำตอบ 1.ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ 3.ผลลัพธ์
1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)
วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด่นปัญหา
2. กระบวนการ (Process)
วิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงานการสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัย
3. ผลลัพธ์(Output)
ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึง อะไร
คำตอบ คือการประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
คำตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ระบบความคิด หมายถึง กระบวนการและขั้นตอน ในการจัดอันดับ จำแนก แจกแจง จัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ ระบบเครื่องมือ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ สารสนเทศที่นิยมในการดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบอะไร
คำตอบ สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการดังนี้
- ข้อมูล (Data)
- สารสนเทศ(Information)
- ความรู้(Knowledge)
- ปัญญา(Wisdom)
สารสนเทศด้านขั้นตอน ประกอบด้วย องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป สารสนเทศทั่วไป
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป (Information Process Systems)
- เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)
- ข้อมูล(Data)
- สารสนเทศ(Information)
- โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)
- บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(People ware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
คำตอบ ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (Mission Analysis)
2. วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)
3. วิเคราะห์งาน (Task Analysis)
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (Method-Means Analysis)ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1. การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3. ประเมินผลประสิทธิภาพ การดำเนินงานโดยการแก้ปัญหา แล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้
ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุลคล ระดับกลุ่ม กับระบบองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล ในหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขายระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบบริการลูกค้า การประชุมผ่านเครือข่าย ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่มระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
คำตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ แสง สี เสียง รสความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล มีความสำคัญกับสารสนเทศคือสารสนเทศ (informational) ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองโดยการจำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ การคำนวณและประมวลผลแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ มีวิธีการจัดการดังนี้
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล (Data processing steps) มีการประมวลผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล (Data collection) หมายถึงการเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิด (capturing) มาทำการเข้ารหัส (Coding) ในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และการบันทึก (recording) ในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ
2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล (Data Maintenance Processing) เป็นกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา (updating) ทำการแยกประเภท (classifying) จัดเรียงข้อมูล (sorting) และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว (calculating) เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
3. การจัดการข้อมูล (Data Management) คือการสร้างระบบจัดการข้อมูลจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4. การควบคุมข้อมูล (Data Control) เป็นการป้องกันรักษาข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วให้ปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลที่มีค่าถูกขโมยไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง
5. การสร้างสารสนเทศ (Information Generation) เป็นการตีความหมายของข้อมูลที่ได้มาแล้ว ค้นหาความหมายหรือความสำคัญที่มีคุณค่าของข้อมูลที่ได้โดยการนำไปประมวลผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น การคำนวณ การเรียงข้อมูล (sorting) การค้นหา (searching)
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
ตำตอบ เครือข่ายสื่อสารข้อมูล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้
1. แลน (LAN = Local Area Network) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรื
2. แวน (WAN = Wide Area Network) คือเครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือเครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
3. อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลกอมหาวิทยาลัย
1.คำว่า "ระบบ" และวิธิการเชิงของระบบ หมายถึงอะไร
คำตอบ คำว่า ระบบ คือ การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ และสามารถตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีระบบแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
คำตอบ 1.ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ 3.ผลลัพธ์
1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)
วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด่นปัญหา
2. กระบวนการ (Process)
วิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงานการสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัย
3. ผลลัพธ์(Output)
ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึง อะไร
คำตอบ คือการประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
คำตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ระบบความคิด หมายถึง กระบวนการและขั้นตอน ในการจัดอันดับ จำแนก แจกแจง จัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ ระบบเครื่องมือ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ สารสนเทศที่นิยมในการดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบอะไร
คำตอบ สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการดังนี้
- ข้อมูล (Data)
- สารสนเทศ(Information)
- ความรู้(Knowledge)
- ปัญญา(Wisdom)
สารสนเทศด้านขั้นตอน ประกอบด้วย องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป สารสนเทศทั่วไป
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป (Information Process Systems)
- เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)
- ข้อมูล(Data)
- สารสนเทศ(Information)
- โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)
- บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(People ware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
คำตอบ ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (Mission Analysis)
2. วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)
3. วิเคราะห์งาน (Task Analysis)
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (Method-Means Analysis)ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1. การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3. ประเมินผลประสิทธิภาพ การดำเนินงานโดยการแก้ปัญหา แล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้
ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุลคล ระดับกลุ่ม กับระบบองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล ในหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขายระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบบริการลูกค้า การประชุมผ่านเครือข่าย ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่มระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
คำตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ แสง สี เสียง รสความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล มีความสำคัญกับสารสนเทศคือสารสนเทศ (informational) ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองโดยการจำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ การคำนวณและประมวลผลแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ มีวิธีการจัดการดังนี้
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล (Data processing steps) มีการประมวลผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล (Data collection) หมายถึงการเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิด (capturing) มาทำการเข้ารหัส (Coding) ในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และการบันทึก (recording) ในสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นาน ๆ
2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล (Data Maintenance Processing) เป็นกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลไว้ให้ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งอาจประกอบด้วยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา (updating) ทำการแยกประเภท (classifying) จัดเรียงข้อมูล (sorting) และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว (calculating) เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
3. การจัดการข้อมูล (Data Management) คือการสร้างระบบจัดการข้อมูลจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งประกอบด้วยการจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4. การควบคุมข้อมูล (Data Control) เป็นการป้องกันรักษาข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วให้ปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลที่มีค่าถูกขโมยไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง
5. การสร้างสารสนเทศ (Information Generation) เป็นการตีความหมายของข้อมูลที่ได้มาแล้ว ค้นหาความหมายหรือความสำคัญที่มีคุณค่าของข้อมูลที่ได้โดยการนำไปประมวลผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น การคำนวณ การเรียงข้อมูล (sorting) การค้นหา (searching)
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
ตำตอบ เครือข่ายสื่อสารข้อมูล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้
1. แลน (LAN = Local Area Network) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรื
2. แวน (WAN = Wide Area Network) คือเครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือเครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
3. อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลกอมหาวิทยาลัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)